ศิลปศาสตร์ หมายถึง การศึกษาที่มุ่งจะให้ความรู้ทั่วไป และทักษาเชิงปัญญา
มิใช่วิชาชีพเฉพาะด้าน หรือความทักษะเชิงช่าง
เดิมนั้น คำว่า "ศิลปศาสตร์" เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต
(ศิลฺป + ศาสฺตฺร) หมายถึง วิชาความรู้ทั้งปวง ในภายหลังใช้ในความหมายเดียวกับ
Liberal Arts ในภาษาอังกฤษ ดังระบุคำนิยามไว้ข้างต้น
ในประวัติศาสตร์การศึกษาของตะวันตกนั้น ศิลปศาสตร์ 7 อย่าง
อาจจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ตริวิอุม (trivium) และ ควอดริวิอุม (quadrivium)
การศึกษาในกลุ่ม ตริวิอุม ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา ได้แก่ ไวยากรณ์ (grammar),
ศิลปะการใช้เหตุผล (dialectic หรือ logic) และศิลปะการพูด (rhetoric)
ส่วนการศึกษากลุ่ม ควอดริวิอุม ประกอยด้วย 4 สาขาวิชา
ได้แก่ เลขคณิต, ดนตรี, เรขาคณิต และ ดาราศาสตร์ ศิลปศาสตร์นั้น
ถือเป็นหลักสูตรแกนของมหาวิทยาลัยในยุคกลาง
คำว่า liberal ในคำว่า liberal arts นั้น มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า
liberalis หมายถึง "เหมาะแก่เสรีชน" (ชนชั้นสูงด้านสังคมและการเมือง)
ซึ่งตรงกันข้ามกันศิลปะการรับใช้หรือบริการ (servile arts)
ในเบื้องต้นคำว่าศิลปศาสตร์ในแนวคิดของตะวันตก จึงเป็นตัวแทนของทักษะ
และความรู้ทั่วไป ที่จำเป็นต้องใช้ในหมู่ชนชั้นสูงในสังคม ขณะที่ศิลปะบริการนั้น
เป็นตัวแทนของความรู้และทักษะของพ่อค้าผู้เชี่ยวชาญ
ที่จำเป็นต้องรู้ในหมู่ผู้รับใช้ชนชั้นสูง หรือขุนนาง
คณะในศิลปศาสตร์ในประเทศไทย
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น